วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

       

          โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน ของแต่ละเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะได้ยินกันมากในชื่อของสมาร์ตโฟนโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากมีความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพอีกมากมายของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส เป็นต้น
    ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีผู้สนใจในการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อในการติดต่อสื่อสารมากขึ้นเพราะมีความรวดเร็วและสะดวกสบายในการติดต่อทำธุรกิจหรือทำงานต่างๆได้ และยังมีคุณสมบัติหลายอย่างที่ผู้ใช้ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆตามยุคสมัยนั้น


Title of the document เทคโนโลยีเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ

วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ



SMARTPHONE




 วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ
                 1.ยุค 1G (1st Generation) เริ่มตั้งแต่ยุคแรก ระบบยังเป็นระบบอะนาล็อก (Analog) และมีการแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็กๆ ในยุคนี้เราสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้เพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคนี้ผู้ใช้ก็ยังไม่ได้มีความต้องการที่จะใช้บริการประเภทอื่น




2.ยุค 2G (2nd Generation) เนื่องจากผู้ใช้มีความต้องการและความหลากหลายด้าน การบริการมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุจากแบบอะนาล็อกมาเป็นแบบ digital ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากบริการเสียง ทำให้ยุคนี้กลายเป็นยุคเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ และเพราะการให้บริการทางด้านข้อมูล ทำให้เกิดบริการอื่นๆ ที่ตามมมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นDownload Ringtone Wallpaper Graphic ต่างๆ แต่บริการในยุคนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ยังอยู่ระดับต่ำ



3.ยุค 2.5G (2.5 Generation) หลังจากนั้นเป็นยุคที่อยู่ระหว่าง 2G และ 3G ซึ่งก็คือ 2.5G ใน 2.5G นี้เป็นยุคที่มีการนำเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) มาใช้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้มากกว่ายุค 2Gเทคโนโลยี GPRS สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 kbps แต่ ความเร็วของ GPRS ในการใช้งานจริงจะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น ซึ่งในยุค 2.5G นั้นจะเป็นยุคที่เริ่มมีการใช้บริการในส่วนของข้อมูลมากขึ้น และการส่งข้อความก็พัฒนาจาก SMS มาเป็น MMSโทรศัพท์มือถือก็เริ่มเปลี่ยนจากจอขาวดำมาเป็นจอสี เสียงเรียกเข้า จากเดิมที่เป็นเพียง Monotone ก็เปลี่ยนมาเป็น Polyphonic รวมไปถึง True tone ต่างๆ ด้วย


 

4.ยุค 2.75G คือยุคที่ต่อเนื่องมาจาก GPRS แต่จะมีการพัฒนาความเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น และเรียกเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลว่า EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ซึ่งจะมีความเร็วมากกว่า GPRS ประมาณ 3 เท่า หรือมีความเร็วสูงสุดประมาณ 384 kbps แต่มีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ 80-100 kbps

5.ยุค 3G (Third Generation) เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 นั้นจะเป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานการรับส่งข้อมูล และเทคโนโลยีที่อยู่ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน รวมทั้งส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สาย (Wireless) ที่ความเร็วที่สูงกว่ายุค 2.75G นอกจากนี้ 3G ยังสามารถให้บริการมัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น (Application) รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น เช่น การรับส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ การใช้บริการ Video/Call Conference ดาวน์โหลดเพลง ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ ดู TV Streaming ต่างๆได้

 

6.4G ระบบโทรศัพท์มือถือที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบ เชื่อกันว่าโทรศัพท์มือถือในยุคนี้จะสามารถสนับสนุน แอปพลิเคชันที่ต้องการแบนด์วิธสูงเช่น ความจริงเสมือน 3 มิติ (3D virtual reality) หรือ ระบบวิดีโอที่โต้ตอบได้ (interactive video) เป็นต้น




5 เทคโนโลยีสุดล้ำที่เราอาจจะได้เห็นจากสมาร์ทโฟนในอนาคตมากขึ้น





เทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและรองรับต่อการใช้งานของเราให้สะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านของมัลติมีเดีย, เกม, ระบบความปลอดภัยต่างๆ ไปจนผู้ช่วยอัจฉริยะ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เราเริ่มจะเห็นมาบ้างแล้ว ราวกับว่าสมาร์ทโฟนในอนาคตจะเปรียบเสมือนกับคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆ ไปเสียแล้ว
หากเรามองย้อนกลับไปในช่วง 10 - 20 ปีที่ผ่านมา โทรศัพท์มือถือยังคงทำได้เพียงการโทรเข้า-ออก หรือการส่งข้อความสำหรับการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น แต่ในวันนี้จากโทรศัพท์มือถือได้กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มีความสามารถอันเหลือล้นและมีสมองของเครื่องกลในการใช้งานเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย และจากที่กล่าวมาข้างต้นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน แต่ถ้าหากพูดถึงในอนาคตล่ะ? เทคโนโลยีจะก้าวไปในทิศทางไหน และจะมีเทคโนโลยีอะไรเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้สมาร์ทโฟนอีกบ้าง


1. เทคโนโลยี Augmented Reality (AR)
เทคโนโลยี Augmented Reality หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ AR นั้น คือ การนำเอาสภาพแวดล้อมของโลกจริง มาผสมเข้ากับวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างในรูปแบบอนิเมชั่น ไม่ว่าจะเป็นภาพ, วิดีโอ, เสียง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อจำลองสิ่งต่างๆ ได้นั่นเอง โดยในปัจจุบันเราก็เริ่มเห็นกันค่อนข้างเยอะแล้วบนสมาร์ทโฟน เช่น เกม Pokemon Go ที่พวกเราต้องเคยเดินหาโปเกม่อนตัวโปรดกันมาก่อนอย่างแน่นอน เป็นต้น ซึ่งในตอนนี้เทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาใช้บนสมาร์ทโฟนระดับ High-End จากหลายแบรนด์กันแล้วด้วย
 
2. หน้าจอแสดงผลที่สามารถบิดงอได้
หลังจากที่เราได้เห็นสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่มีหน้าจอกว้างอย่างมากมายในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปในเรื่องของความบางของขอบด้านข้างเป็นส่วนใหญ่ แต่ในอนาคตเราจะได้เห็นหน้าจอสมาร์ทโฟนที่สามารถพับหรืองอได้อย่างสมบูรณ์แบบอย่างแน่นอน โดยต้องขอบคุณเทคโนโลยีหน้าจอ OLED ที่จะทำให้สิ่งๆ นี้เกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ก็เคยมีข่าวออกมาแล้วว่า Apple ก็เริ่มทดสอบการผลิตหน้าจอ OLED ที่สามารถพับได้มาแล้ว หรือ Lenovo ที่เป็นแบรนด์ดังของจีน ก็ได้เปิดโชว์แท็บเล็ตแบบพับหน้าจอได้ภายในงาน Lenovo Tech World 2017 ด้วยเช่นเดียวกัน
 
3. เป็นโปรเจคเตอร์ได้ด้วยตัวเอง
ย้อนกลับไปในปี 2010 Samsung ได้ผลิตสมาร์ทโฟนรุ่น Samsung Galaxy Beam ที่มีความสามารถในการฉายภาพเป็นโปรเจคเตอร์กว้าง 50 นิ้ว ความละเอียด WVGA (800 x 480 พิกเซล) แต่ก็ถูกลบเลือนหายไปตามระยะเวลา อย่างไรก็ตาม เราก็อาจจะได้เห็นการพัฒนาสิ่งนี้อีกครั้งเพื่อใช้ในการเทศกาลต่างๆ เช่น งานเกม หรืองานจัดแสดงอุปกรณ์ไอที เป็นต้น
 
4. หน้าจอ 3 มิติ หรือภาพฮอโลกราฟี (Holograms)
สมาร์ทโฟนหลายๆ แบรนด์เริ่มขยับเข้าสู่เทคโนโลยี 3 มิติกันมากขึ้น ดังเช่น บริษัท Sony ที่มีแอพพลิเคชั่น 3D Creator เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแบบ 3 มิติที่ง่ายและรวดเร็ว แต่ในส่วนถัดไปที่ค่อนข้างจะยากที่สุดก็คงจะเป็นในส่วนของภาพฮอโลกราฟี (Holograms) ที่ต้องฉายภาพออกมาในแบบ 3 มิติผ่านหน้าจอโดยตรง (อาจต้องทำงานร่วมกับเทคโนโลยี 3 มิติบนสมาร์ทโฟนด้วย) ดังนั้น ฮอโลกราฟีก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนแบบ 3 มิติและโปรเจคเตอร์ในหนึ่งเดียว
5. แบตเตอรี่ที่ทำงานได้ยาวนานขึ้น
งงกันใช่ไหมว่าแบตเตอรี่จะเป็นเทคโนโลยีในอนาคตได้อย่างไร? อย่างที่เราทราบกันดีว่าหากยิ่งมีเทคโนโลยีที่อยู่ในสมาร์ทโฟนมากเท่าไหร่ก็ต้องยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าในเรื่องของหน่วยประมวลผล (CPU) จะมีการพัฒนาให้ใช้พลังงานลดน้อยลงแล้วก็ตาม
เทคโนโลยีดังกล่าว คือการใช้แบตเตอรี่พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen cell) ที่มีหลักการทำงาน โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากการทำปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำและความร้อนออกมา
ความคิดนี้ใช่ว่าจะเป็นไม่ได้ เนื่องจากเคยมีบริษัท Intelligent Energy จากสหราชอาณาจักรได้ใช้แบตเตอรี่ดังกล่าวเข้ากับ iPhone 6 มาแล้ว ส่งผลให้มันทำงานได้นานเกือบสัปดาห์โดยไม่ต้องชาร์จเลยทีเดียว